0

ข้อดี-ข้อเสีย ของการเปิดอาเซียน

ข้อดี
ด้านการท่องเที่ยว
จากประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านคน จะทำให้ไทยได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประคมอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมทั้งภูมิศาสตร์ ที่ติดพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย อีกทั้งมีความพร้อมทางคมนาคมต่างๆ ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มากมาย (สังเกตได้จาก เป็นประเทศถูกโหวตให้น่าท่องเที่ยวจากนิตยสารเเนะนำท่องเที่ยวบ่อยครั้ง) มีสาธานูปโภคที่ได้มาตราฐาน มีโรงเเรมระดับต่างๆมีอยู่มากมาย มีอาหาร วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายในสถานที่ท่องเที่ยว ชายทะเล น้ำตก ภูเขา โบราณสถาน ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
ด้านการศึกษา
ประชากรเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ลาว พม่า เวียตนาม มาเลเซีย เเละกัมพูชาอาจมาเรียนในไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาของประเทศไทยค่อนข้างดี หากไม่เทียบกับประเทศสิงคโปร (สังเกตได้จากประเทศไทยมักได้เหรียญทองในการเเข่งขันโอลิมปิกวิชามาอยู่บ่อยครั้ง) และไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เเละความพร้อมของมหาวิทยาลัยต่างๆมากพอสมควร ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
ด้านเกษตรกรรม
ผลผลิตทางการเกษตรของไทย อาจไม่สามารถเเข่งขันกับผลผลิตทางการเกษตรของเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากการเกษตรของประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง อีกทั้งผลผลิตต่อไร่ก็มีจำนวนน้อยกว่า (ซึ่งเป็นที่ทราบกันมานาน ว่าผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทย กับเวียตนามนั้น ประเทศเวียตนามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า) เนื่องจากการเกษตกรไทยมัก จ้างคนงานทำเเทนตนเอง การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้สารเร่งผลผลิต ที่มีราคาค่อนข้างสูง  ส่วนของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูกเอง ไม่มีการว่าจ้างใด ใช้สารอินทรีเป็นส่วนใหญ่ เเละใช้เเรงงานจากสัตว์ เหมือน เกษตรกรรมของไทยในอดีต เครื่องจักรมีส่วนเกี่ยวข้องน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิดต่ำกว่าไทยเป็นอย่างมาก
ด้านสาธารณสุข
การเปิดประชาคมอาเซียน ทำให้การเข้าออกของประชากร ระหว่างประเทศสามารถทำให้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจทำให้การระบาดของโรคติดต่อต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การระบาดของเชื้่อ อีโคไล ในสหภาพยุโรป (EU) เป็นต้น อีกทั้งสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้านนั้นยังขาดคุณภาพ หรือ ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจทำได้ไม่ดีพอ หรือยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้โรคที่ประเทศไทยเเทบไม่มีการระบาด กลับมาเกิดได้อีกครั้งหนึ่ง เช่น โรคหัด (Measles) โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นต้น
ความสำเร็จและ ประโยชน์ของอาเซียน ต่อประเทศไทย
                (1) ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วมหารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย

                 (2) ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน อีกด้วย
                (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อาเซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น
ผลกระทบตอไทย
1.ทําใหไทยอยูในประชาคมทมี่ ีกติกาและมีการพัฒนาคานิยมและบรรทัดฐานรวมกันมาก
ขึ้น มความเป ี นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกรง มีการสรางกฎเกณฑและ
คานิยมรวมกัน ซงจะช ึ่ วยสรางความเขาใจและความไวเนื้อเชื่อใจระหวางกัน ขจัดความ
ขัดแยงทางการเมืองระหวางกัน และลดปญหาความม  ั่นคงรูปแบบเดิม รวมทั้งสงเสร  มิ
สันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค
2.ชวยสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการหาขอยุติตอปญหาตางๆ ระหวางกันโดย
สันติวิธีซึ่งแมวาการเปนประชาคมอาเซียนจะมิไดเปนการแกไขปญหาโดยตรง แตก็จะ
ชวยสงเสริมการดําเนินการในกรอบอื่นๆ ทเกี่ ี่ยวของอาทิกรอบทวิภาค ี
3. ชวยใหไทยสามารถแกไขปญหาและความทาทายตางๆไดอยางมีประสทธิ ิภาพมากขึ้น
โดยอาศัยรวมมือที่ใกลชิดกับประเทศอื่นทั้งในและนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการแกปญหา
ความมั่นคงรูปแบบใหม เชน การบรหารจ ิ ัดการภัยพิบัติความมั่นคงทางทะเล และ
อาชญากรรมขามชาติในรูปแบบตางๆ
แนวโน้มของอาเซียนในอนาคต

เมื่อเกิดความร่วมมือกันด้านการเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แล้วก็ได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งประเทศที่ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันสืบเนื่องมาจากระบอบการปกครองที่ยังไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ของประชาชนเจ้าของประเทศ  ไม่นำพาต่อการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือ ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบหรือเผด็จการทหาร ก็ตาม ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่มุ่งให้เกิดสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพ ขึ้นทั่วโลก และการโดดเดี่ยวประเทศที่ไม่สนในกระแสการเมืองแบบนี้ก็จะตามมา ซึ่งเชื่อว่าไม่มีประเทศใด ต้องการถูกตอบโต้ทางการเมืองอันเนื่องมาจากนโยบายการเมืองการปกครองของตนที่ยังล้าหลัง เรื่องสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย

เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ทุกประเทศในภูมิภาคนี้จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่เต็มใบ  อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงครบทั้ง  10  ประเทศ ต่างแต่เวลาที่จะขับเคลื่อนพัฒนาไปสู่จุดหมายดังกล่าว

ที่มา : https://sites.google.com/site/kittradanai/khxdi-khx-seiy-khxng-kar-peid-xaseiyn